การเลือกขนาดของแอร์

การเลือกขนาดของแอร์ให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้ง ก่อนอื่นเราควรรู้ขนาดของห้องที่จะทำการติดตั้ง เพื่อที่จะกำหนดขนาด BTU ของแอร์ที่ให้ความเย็นที่เหมาะสมกับห้อง เพราะว่าถ้าขนาดของแอร์เล็ก หรือ ใหญ่ เกินไปจะทำให้การควบคุมความชื้นไม่ดี และเกิดการสิ้นเปลื้องค่าใช้จ่าย(ค่าไฟฟ้า ค่าติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา) 

คำว่า BTU ย่อมาจาก British Thermal Unit ซึ่งเป็นหน่วยของความร้อน

แอร์ขนาด 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12,000 BTU/hr

ดังนั้นเราควรเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้องที่จะทำการติดตั้ง และเพื่อความประหยัดค่าไฟฟ้าควรเลือกแอร์ที่มีเบอร์ 5

ตารางการเลือกขนาดแอร์

 

ขนาดแอร์ Btu/hr ห้องปกติ (ตร.ม.) ห้องโดนแดด(ตร.ม.)
9,000 12-15 11-14
12,000 16-20 14-18
18,000 24-30  21-27
21,000 28-35 25-32
24,000 32-40 28-36
25,000 35-44 30-39
30,000 40-50 35-45 
35,000  48-60 42-54
48,000 64-80 56-72 
80,000 80-100 70-90

 

* ฝ้าเพดานห้องสูงไม่เกิน 2.5 เมตร

ถ้าห้องที่ต้องการติดตั้งมีฝ้าเพดานสูงกว่า หรือ มีคนทำงานหลายคน(เข้า/ออก)จะต้องเผื่อขนาดแอร์เพิ่มขึ้น

 

แอร์ระบบ INVERTER

ระบบอินเวอร์เตอร์คือระบบควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit ) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit)

การทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์จะแตกต่างจากเครื่องปรับอากาศทั่วไป ตรงที่อินเวอเตอร์เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะปรับรอบการทำงานลงเพื่อคงอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ตลอดเวลา

ในขณะที่เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์ เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ประมาณ1-2 องศา หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงาน จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น เกินระดับที่ตั้งไว้ 1-2 องศา คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานอีกครั้ง ทำให้อุณหภูมิภายในห้องจะเย็นเกินไป สลับกับร้อนเกินไปอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเวลานอนหลับ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลับๆ ตื่นๆได้ ดังนั้นเราควรพิจารณาว่าต้องการติดแอร์ตำแหน่งใดของบ้านหรือสำนักงาน และต้องการประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้า หรือ ต้องการความเย็น...

 

สารทำความเย็น R32

สารทำความเย็น คืออะไร

“สารทำความเย็น” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “น้ำยาแอร์” คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น จุดเดือดต่ำกว่าสารทั่วไป เมื่อผ่านกระบวนการอัดสารทำความเย็นให้เป็นไอ ไหลเวียนภายในระบบเครื่องปรับอากาศและสร้างความเย็นสบายให้แก่เรา ปัจจุบันสารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ R22, R410A และ R32 ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ กำลังได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าสารทำความเย็นตัวอื่น

แล้วทำไมต้อง R32 
ตามข้อตกลงในพิธีสารมอนทรีออลเมื่อปี 1987 ที่ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายชั้นโอโซน ทั่วโลกจึงเปลี่ยนจากการใช้สารทำความเย็น R22 มาเป็น R410A ซึ่งแม้ว่าจะลดผลกระทบในการทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้อย่างดี แต่ก็ยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง จึงมีกระแสการเปลี่ยนแปลงสารทำความเย็นที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

 

หมายเหตุ

ODP (Ozone Depletion Potential) คือ ดัชนีชี้วัดการทำลายชั้นโอโซน

GWP (Global Warming Potential) คือ ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

Cooling Capacity คือ ประสิทธิภาพการทำความเย็น